วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

นัก designer ที่ชอบ

อลัน เฟรนเชอร


อลัน เฟรนเชอร์ เป็นนักดีไซน์เนอทีเก่งที่สุดคนนึงของโลกเลยก็ว่าได้ ทั้งวิธีที่เค้าใช้คิดในงานการออกแบบการเเก้ปัญหา ผมชอบในเเนวความคิดของ อลัน หลายๆอย่างเเละสามารถนำมาใช้ในการออกเเบบ


เเละพัฒนาตัวเองได้ ทั้งความคิดที่ว่า ‘ทางเเก้ปัญหาอยู่ในตัวปัญหา’
ในงานของ อลัน นั้นแฝงไปด้วยความเรียบง่ายเเต่มีพลังทางด้านความคิดสูงเค้าสามารถมองสิ่งต่างๆ เเล้วนำมาใช่ในงานออกเเบบได้อย่างรวนเร็ว บางงานเค้าเพียงเเค่เเต้มเส้นดินสอเข้าก็สามารถทำให้งานมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้โดยการเเค่เพิ่มเติมรายระเอียดเเค่เล็กน้อยเข้าไป เเละ อลัน ยังชอบใช่สิ่งที่น่าเบื่อจำเจที่เราเป็นได้บ่อยมาใช่ในงานการออกเเบบเช่น รูปทรง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือสีมาตราฐาน เหลือง เเดง น้ำ เงิน หรือสัญลักทั่วไปที่มีอยู่เเล้ว เช่น รูป มือหัว ใจ นำมาสือสารใหม่ให้ดูมีพลังมากขึ้นกว่าเเบบเดิม
อลัน นั้นเป็นนักออกเเบบที่สามารถตัดถอนรายละเอียดได้อย่างน่าทึง เช่นในงานออกเเบบ สัญลักษณ์ องค์การสมานฉันท์ของอิสลาม เป็นโลโก้ ที่น่าสนใจมากที่เค้านำ รูปพระจันทร์เสี้ยว มารวมกันเป็นวงกลมเเล้วดูเหมือนที่คาดศรีษะของชาวอาหรับ เเละอีก 1 งานที่ผมชอบมากชอบของ อลัน คืองานที่เค้านำรูปเหมือนของบุคลสำคัญๆมารวมกัน เป็น รูปหน้าชองเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ผมชอบตรงที่เค้าสามารถมองจุดเด่นของเเต่ละคนเเล้วเอามรรวมไว้ให้เป็นหน้าของอีกคนซึ่งมีจุดเด่นคล้ายของเเต่ล่ะคน เเสดงให้เหตุถึงความคิดเเล้วพลังในการสังเกตุซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการนำมาใช้ในการออกเเบบ งานต่างๆของ อลัน นั้นแฝงไปด้วยควมเป็นปรัญญาเเละมุขตลกขำๆ อลัน นั้นได้สร้างงานศิลปะขึ้นมามากมายงานหลายๆงานของอลัน

สามารถเป็นเเบบอย่างต่อไปให้ดีไซน์เนอรุ่นต่อๆไปได้ทั้งวิธีคิดการตัดท่อนความกล้าในการออกเเบบเเต่ใช่ว่างานของ อลัน นั้นเราลอกเเบบได้ง่ายเปรียบ ได้ดั่งคำพูดของ ไมเคิล เบรุต กล่าวไว้ว่า



‘สิ่งที่เขาทำได้โดยเเทบไม่ได้ใช้ความพยายามเลยนั้น เรากับก้มหน้าก้มตาทำอย่างเอาเป็นเอาตายเเต่ไม่เคยสำเร็จ’

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยเเสง

จากที่ได้ไปดูงาน ปล่อยเเสง ที่ TCDC ผมมีความคิดว่าเป็นงานที่ดีเเล่ะน่าสนใจมากครับเป็นงานที่รวบรวมงาน ของ นิสิตนักศึกษา มาให้ได้ชมกันพร้อมยังเปิดทัศนะคตใหม่ๆเเก่รุ่นน้องได้เข้าไปชมผลงานต่างๆเพื่อประโยชน์ในภายหน้าต่อๆกันไปครับ


จากที่ได้เข้าชมงานมีผลงานที่ผมชอบอยู่หลายๆงานแต่จะนำเสนอที่ชอบที่สุด 3 งานครับ

งานชิ้นเเรก POST ROCK
เป็นผลงานของ นาย พงศ์ภัทร เผือกวัฒนะ


เป็นภาพยนต์สั้นสารคดีเกี่ยวกับเเนวดลตรี POST ROCK ซึ่งต้องการเผยเเพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นเพราะดลตรีเเนวนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในเมื่องไทย และกลุ่มคนเล่นก็มีจำกัด ที่สนใจงานนี้เพราะเป็นคนชอบฟังดลตรี
อยู่เเล้ว เเละชอบค้นหาอะไรใหม่ๆที่เกี่ยวกับดลตรีให้หลากหลายเเละเเนวดลตรี POST ROCK ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจดีครับ

งานชิ้นที่สอง เป็นงานออกเเบบเชิงเรขศิลป์เป็นการออกเเบบเกี้ยวกับเส้นทางเดินรถตู้
เป็นผลงานของ นาย ยุรพันธ์ มีสุวรรณ


เป็นงานออกแบบเรขศิลป์เชิงข้อมูลภาพเเสดงถึงเส้นทางการเดินรถของรถตู้ในกรุงเทพ เช่น เส้นทางเดินรถ ระยะทาง เวลาใช่บริการ เป็นต้น สาเหตุที่สนใจในงานนี้เพราะเป็นงานออกเเบบที่ต้องใช้ข้อมูลจริงในการ
ออกเเบบเเละออกเเบบเส้นทางเดินรถที่ซับซ้อน ให้ออกมาเป็นเเผนที่ซึ่ง เหมาะกับนักท่องเที่ยว เช่น ชาวต่างชาติ ในการเดินทางในบ้านเรา

งานชิ้นสุดท้าย เป็นงานออกเเบบหนังสื้อที่ได้เเรงบันดาลใจจากบทสวด ชินบัญชร
เป็นผลงานของ นาย จักรพันธ์ สุวรรณะบูณย์


บรรยากาศในงานวันนั้นครับ


วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

็HOME



สารคดีเรื่อง HOME ที่ได้ชมในห้องเรียนนั้นผมมีความรู้สึกว่าสารคดีชุดนี้ทำออกมาได้ดีมากจากที่เคยได้ดูสารคดีอื่นๆมา ทั้งการเล่าเรื่องตั้งเเต่ต้นกำเนิดของโลกเเละต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการต่าง ๆ ของโลกจากอดีตจนปัจบัน เเละ การลำดับภาพการใช้มุมกล้องนั้นผู้กำกับสามารถเลือกมุมกล้องที่แปลกเเละภ่ายทอดออกมาได้สวยงามมาก


ส่วนเนื้อหานั้นก็เป็นไปตามลำดับขั้นตอนดูเเล้วเข้าใจได้ง่ายรวมกับภาพที่ภ่ายทำออกมาได้สวยงามเเล้วยิ่งทำให้หน้าติดตามดั้งตัวอย่างภาพข้างบนที่นำเสนอเนื้อหากำภาพออกมาได้ดี เเละข้อมูลที่นำเสนอให้เห็นถึงการกำเนิดของโลกเเละการถูกทำลายของโลกตามเเตกต่างของประเทศที่ใช่ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลื้อง เเละ ประเทศที่ขาดเเคลนทรัพยากรธรรมชาติ การหาพลังงานทดเเทน จุดที่เสื่อมถอย
ของโลกเเละกำลังสูญเสียของโลก



สิ่งที่ชอบ

สิ่งที่ชอบในสารคดีชุดนี้ คือ การนำเสนอเรื่องราวจากอดีตจนปัจจุบันเรื่องราวการกำเนิดของโลกตั้งเเต่ยุคเเรกจนการเริ่มของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จนวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลกการเกิดมนุษย์เเหล่งกำเนิดพลังงาน เเละ การใช้พลังงานอย่างไม่หยุดของมนุษย์การขาดอาหารเเละการหาอาหาร การเพิ่มเเละลดลงของธรรมชาติ การเเสดงให้เห็นถึงการที่โลกถูกทำลายโดยสิ่งที่อาศัยอยู่บนโลก ที่มีศักยภาพที่สุด

สิ่งที่ไม่ชอบ

สิ่งที่ไม่ชอบของสารคดีชุดนี้คือ มีความยาวของการฉายที่นานมากถึง 90 นาทีซึ่งบางที่ผู้ชมอาจจะเบื่อได้เมื่อดูไปได้ครึ่งเรื่อง ด้วยความที่เป็นสารคดีการมีความยาวที่มากนั้นก็อาจก่อให้เดกิดความน่าเบื่อได้ไว

Keywords

1. กำเนิด 2.สุญเสีย 3.ชีวิต 4.อาหาร 5.พลังงาน
6.ขาดเเคลน 7.เริ่มต้น 8.พังทลาย 9.ทดเเทน 10.ค้นหา




โครงการอนุรักษ์

1.กังหันชัยพัฒนา
กังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศกังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสียสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชนทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

ส่วนประกอบ

กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ)

ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน

มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกันด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง

การทำงาน

ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด

กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น

การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงการประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน

จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่

วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 แล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบ ในส่วนที่เป็นปัญหา ได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด นับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ

ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว 1,450 รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วยความเร็ว 5 รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า และมีการปรับปรุง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกแบบตัวเครื่องให้สามารถ ขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำ ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น

ด้านประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ 0.9 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเทออกซิเจนได้ 1.2 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง

สิทธิบัตรการประดิษฐ์

กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น วันนักประดิษฐ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ กังหันชัยพัฒนายังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

กังหันน้ำชัยพัฒนาคือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถอันงดงาม และพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลอ้างอิง http://th.wikipedia.org


2.โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร

ประวัติ

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

ฝนหลวง

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ, "สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

วิธีการทำฝนหลวง

ตำราการทำฝนเทียมพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกำหนดขั้นตอนการทำฝนหลวงขึ้นให้เข้าใจง่ายเป็นลำดับดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อกวน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้ แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ (มีค่า critical relative humidity ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (main cloud core) ในบริเวณ ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"

เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติการ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย

ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน

เครื่องมือและอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ประกอบในการทำฝนหลวง

1.เครื่องมืออุตุนิยมวิทยา ใช้ในการตรวจวัดและศึกษาสภาพอากาศประกอบการวางแผนปฏิบัติการ นอกเหนือจากแผนที่อากาศ ภาพถ่าย ดาวเทียมที่ได้รับสนับสนุนเป็นประจำวันจากกรมอุตุนิยมวิทยาที่มีใช้ได้แก่

1.เครื่องวัดลมชั้นบน (pilot balloon) ใช้ตรวจวัดทิศทางและความเร็วลมระดับสูงจากผิวดินขึ้นไป

2.เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ (radiosonde) เป็นเครื่องมืออิเล็คทรอนิคส์ประกอบด้วยเครื่องส่งวิทยุ ซึ่งจะติดไปกับบอลลูน และเครื่องรับสัญญาณวิทยุซึ่งจะบอกให้ทราบถึงข้อมูลอุณหภูมิความชื้น ของบรรยากาศในระดับต่าง ๆ

3.เครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ]] ที่มีใช้อยู่เป็นแบบติดรถยนต์ เคลื่อนที่ได้มีประสิทธิภาพ สามารถบอกบริเวณที่มีฝนตกและความแรง หรือปริมาณน้ำฝนและการเคลื่อนที่ของกลุ่มฝนได้ในรัศมี 200-400 กม. ซึ่งนอกจากจะใช้ประกอบการวางแผนปฏิบัติการแล้ว ยังใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงอีกด้วย

4.เครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้นต่าง ๆ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วและทิศทางลม เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น

2.เครื่องมือเตรียมสารเคมี ได้แก่เครื่องบดสารเคมีเครื่องผสมสารเคมี ทั้งแบบน้ำและแบบผง ถังและกรวยโปรยสารเคมี เป็นต้น

3.เครื่องมือสื่อสาร ใช้ในการติดต่อสื่อสารและสั่งการระหว่างนักวิชาการบนเครื่องบินกับฐานปฏิบัติการ หรือระหว่างฐานปฏิบัติการ 2 แห่ง หรือใช้รายงานผลระหว่างฐานปฏิบัติงานสำนักงานฯ ในส่วนกลางโดยอาศัยข่ายร่วมของวิทยุตำรวจ ศูนย์สื่อสารสำนักงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย วิทยุเกษตร และกรมไปรษณีย์โทรเลข เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่วิทยุซิงเกิลไซด์แบนด์ วิทยุ FM.1, FM.5 เครื่องโทรพิมพ์ เป็นต้น

4.เครื่องมือทางวิชาการอื่น ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการวางแผนปฏิบัติการ เข็มทิศ แผนที่ กล้องส่องทางไกล เครื่องมือตรวจสอบสารเคมี กล้องถ่ายภาพ ฯลฯ

5.สถานีเรดาร์ฝนหลวง หรือ เรดาร์ดอปเปลอร์ (Doppler radar) ในบรรดาเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ภายใต้โครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์จำนวน 8 รายการนั้น เรดาร์ดอปเปลอร์จัดเป็นเครื่องมือที่มีมูลค่าสูงสุด เรดาร์นี้ใช้เพื่อวางแผนการทดลองและติดตาม ประเมินผลปฏิบัติการฝนหลวงสาธิต เครื่องมือชนิดนี้ทำงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Microvax 3400) ควบคุมสั่งการ เก็บบันทึก รวบรวมข้อมูล สามารถนำข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึก ในรูปแบบการทำงานของ IRIS (IRIS Software) ผ่านโพรเซสเซอร์ (RUP-6) กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในเทปบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาใช้ได้ตลอด ซึ่งเชื่อมต่อกับระบบเรดาร์ การแสดงผล/ข้อมูล โดยจอภาพ สถานที่ตั้งเรดาร์ดอปเปลอร์นี้อยู่ที่ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลอ้างอิง http://th.wikipedia.org

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อกกแบบลายเสื้อ


เเนวความคิด : สีเเดงคือตัวปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาวะของโลกในปัจบันเเล้วสีฟ้าเเทนโลกที่กำลังถูกกินไปเรื่อยๆ เหมือนกับเกมเพคเเมนที่กินจุดสีไปจนหมด

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

โรงเรียนสอนออกแบบเบาเฮาส์


สถาบันศิลปะเบาเฮาส์หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า The Bauhaus School of Art, craft, and design ได้รับการสร้างขึ้นมาโดยสถาปนิกที่ชื่อว่า Walter Gropius ที่เมืองไวมาร์ ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1919 สำหรับคำว่า เบาเฮาส์ (building house)นั้น เป็นการสะท้อนถึงต้นตอกำเนิดในความคิดแบบสังคมนิยมที่เกี่ยวพันกับขบวนการเคลื่อนไหวทางด้านงานศิลปะและงานฝีมือ ซึ่งไม่ใช่อย่างเดียวกันกับความพยายามในช่วงต้นๆในการรื้อฟื้นพลังเกี่ยวกับผลิตผลทางงานฝีมือขึ้นมาใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด โปรแกรมต่างๆของเบาเฮาส์ได้เข้าไปอยู่ภายใต้วงแขนของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
ปี 1919 นั้น นับเป็นปีที่สำคัญปีหนึ่งของชาวเยอรมัน เพราะเป็นปีแรกหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 [สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1914-1918] ในปีดังกล่าว บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนต่างวุ่นวายอยู่กับการจัดให้มีการประชุม เพื่อถกเถียงว่าจะมีประชาธิปไตยแบบใดกันดีในเยอรมัน ในขณะเดียวกันนั้น สถาบันศิลปะเบาเฮาส์ ได้ก่อตั้งขึ้นที่เมือง Weimar เป็นครั้งแรก
คำว่าBauhaus หากแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ building house หรือ Construction Building และผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาก็คือ Walter Gropius (สถาปนิก)ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งคนสำคัญและเป็นผู้อำนวยการสถาบันศิลปะ เบาเฮาส์ เป็นคนแรก เปิดดำเนินการขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 1919 ณ เมือง Weimar ประเทศเยอรมัน อันเป็นเมืองเล็กๆซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ราว 4 หมื่นคน แต่กลับเป็นจุดโฟกัสทางวัฒนธรรมที่สำคัญเพราะว่าเป็นที่ซึ่ง Gorthe และ Schiller สองนักประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่อาศัยอยู่


บุคคลสำคัญที่มีส่วนร่วมกับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์

นับจากปี 1919 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สถาบันศิลปะเบาเฮาส์ ได้รับการก่อตัวขึ้นมาจนกระทั่งสถาบันแห่งนี้สิ้นสุดลงในปี 1933 นั้น มีผู้อำนวยการสถาบันแห่งนี้ที่นับว่าเป็นคนสำคัญที่ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา 3 คน ได้แก่ Walter Gropius(เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1919), Ludwig Mies van der Rohe(เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1928) และ Hannes Meyer (เป็นผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 1930) ในส่วนของ Walter Gropius ซึ่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถาบันแห่งนี้ เขาเป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงมาแล้วตั้งแต่อายุเพียง 36 ปี ความหวังของเขาเกี่ยวกับการก่อตั้งสถาบันสอนศิลปะแห่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อที่จะปฏิวัติโรงเรียนศิลปะให้เป็นแบบสหศึกษา คือมีการสอนทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่ง ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบโฆษณา งานเซอรามิค งานถักทอเส้นใย รวมไปถึงจิตรกรรม ประติมากรรม และการละคร ฯลฯ เขาหวังจะหวนกลับไปสู่อุดมคติต่างๆของผู้สร้างโบสถ์ในสมัยกลาง(the ideals of the builder of cathedrals in the Middle ages) เพื่อสถาปนาชุมชนคนทำงานศิลปะขึ้นมา แต่เป็นเป็นที่น่าจับตาว่า งานศิลปะในแขนงต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ล้วนถูกห่อรวมอยู่ในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมทั้งสิ้น นอกจากผู้อำนวยการทั้ง 3 คนแล้ว ยังมีผู้ร่วมสอนคนสำคัญของสถาบัน เบาเฮาส์ แห่งนี้อีกหลายคน ซึ่งล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีผลงานซึ่งได้รับการสืบทอดนำเอาตำรับตำราของคนเหล่านี้มาใช้สอนนักศึกษาศิลปะไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งประเทศไทย อย่างเช่น Johannes Itten (ชาวสวิสส์) และ Josef Albers (จิตรกรอเมริกัน เกิดในเยอรมัน) ผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องของทฤษฎีสี การค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องสี จนกระทั่งเขียนขึ้นมาเป็นตำราของเขาได้รับการนำมาแปลถ่ายทอดในหลายภาษา และนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมและงานออกแบบทั่วไป รวมไปถึงงานออกแบบอุตสาหกรรมศิลป์ ส่วนจิตรกรคนสำคัญ ซึ่งได้ร่วมสอนอยู่กับสถาบันศิลปะ เบาเฮาส์ และเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะจนกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งปัจจุบันนักศึกษาศิลปะยังคงต้องศึกษาผลงานของพวกเขาอยู่ อย่างเช่น Paul Klee(จิตรกรชาวสวิสส์), Wassily Kandinsky(จิตรกรชาวรัสเซีย), Lyonel Feininger(จิตรกรชาวอเมริกัน), และ Loszlo Moholy Nagy (จิตรกรชาวฮังกาเรียน) เป็นต้น ที่น่าสังเกตุก็คือ จิตรกรเหล่านี้ภายใต้ร่มธงของสถาบันสอนศิลปะเบาเฮาว์ ล้วนทำงานออกมาในรูปโครงสร้างมีลักษณะเรขาคณิต ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกับงานโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ซึ่งอยู่ภายใต้การอำนวยการของสถาปนิกทั้ง 3 คน แต่ภายหลังจิตรกรเหล่านี้ด้แยกตัวออกจากสถาบันเบาเฮาส์แล้ว พวกเขาแต่ละคนกลับมีสไตล์ผลงานจิตรกรรมที่เป็นของตัวเองอย่างเด่นชัด และเต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก อย่างเช่น ผลงานจิตรกรรมของ Paul Klee และ Kandinsky โดยเฉพาะจิตรกรคนหลัง ผลงานของเขาเป็นที่น่าประทับใจและเป็นส่วนหนึ่งของที่มาในสไตล์ผลงานจิตรกรรมแบบ Abstract Expressionism


1.Walter Gropius 2.Hannes Meye 3.Ludwig Mies van der Rohe
ส่วนผสมของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์
ก่อนการก่อตั้งสถาบันศิลปะเบาเฮาส์มีโรงเรียนที่สอนทางด้านศิลปะอยู่แล้ว ซึ่งบางโรงเรียนก็เน้นไปในเรื่องของพาณิชยศิลป์ ส่วนบางโรงเรียนก็เน้นไปในด้านงานวิจิตรศิลป์โดยตรง สำหรับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์นั้น เป็นการรวมกันระหว่าง The School of Art and Trade กับ The School of Plastic Arts ซึ่งโรงเรียนแรกเน้นเรื่องศิลปะไปรับใช้เรื่องทางการค้า ส่วนโรงเรียนหลังมีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะตามขนบประเพณี เป็นสถาบันวิชาการทางศิลปะ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับอาจารย์ผู้สอนศิลปะโรงเรียนหลังนี้กล่าวว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับโปรแกรมของเบาเฮาท์ได้
การเรียนการสอนของเบาเฮาส์
ปรัชญาของการเรียนการสอนของเบาเฮาส์เป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นศิลปินหรือผู้ที่มีความสามารถเกี่ยวกับเรื่องราวของรูปทรง(master of form)ให้กลับมาสนใจในงานฝีมือ ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้คนที่มีความสามารถในงานฝีมือ(shop master)ใช้ความคิดสร้างสรรค์เช่นเดียวกับศิลปิน ฝึกฝนให้ตนเองให้เกิดความสามารถในการคิดถึงรูปทรงที่ปรากฎออกมาให้สะดุดตา
ในส่วนของข้อแตกต่างอีกข้อหนึ่งระหว่างโรงเรียนสอนศิลปะโดยทั่วไป กับสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ที่เด่นชัดคือ สถาบันศิลปะแห่งนี้เน้นในเรื่องการสนทนาระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษา การพูดคุยกันถือเป็นหัวใจสำคัญแรกสุด ทั้งนี้เพื่อจะได้ให้ครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายสาขาและมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ได้ถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับนักศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาแต่ละคนได้นำเอาความรู้ของผู้สอนแต่ละท่านไปสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ของตนเอง
นอกจากนี้ การเรียนของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ยังเน้นในเรื่องการลงมือปฏิบัติด้วย Gropius เชื่อว่า การทำงานด้วยมือถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้นักศึกษามีคุณภาพภายในและรับรู้ถึงการใช้วัสดุอย่างแท้จริง ดังนั้น นักศึกษาศิลปะจึงไม่เพียงเป็นแค่ผู้รู้ในทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังเป็นนักปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพด้วย โดยเหตุนี้ นักศึกษาของสถาบันศิลปะเบาเฮาส์จึงต้องเข้าโรงฝึกงานหรือสตูดิโอต่างๆ เช่น สตูดิโอที่เกี่ยวกับไม้, โลหะ, กระจก, สิ่งทอ, และงานเครื่องปั้นดินเผา

บั้นปลายของเบาเฮาส
แม้ว่าสถาบันศิลปะเบาเฮาส์จะมีปรัชญาการสอนที่ล้ำหน้ามากในช่วงนั้น นับจากแนวคิดของผู้ก่อตั้ง ผู้ร่วมงาน และการให้อิสระแก่นักศึกษา แต่สถาบันแห่งนี้ภายหลัง กลับต้องยุติบทบาทลงในประเทศเยอรมันนี ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองภายในในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างความคิดเก่ากับความคิดใหม่ รัฐบาลและประชาชนทั่วไปยังมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม แต่เบาเฮาส์มีแนวโน้มไปทางสังคมนิยม เมื่อความขัดแย้งสั่งสมเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการบีบบังคับให้ Gropius ลาออกและปิดสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ที่เมืองไวมาร์ลงในปี 1924
แต่ข่าวการปิดสถาบันแห่งนี้ กลับได้รับการตอบรับในลักษณะที่ยินดีจากเมืองสำคัญๆในเยอรมัน เช่น ฟรังค์ฟูร์ต, ฮาเกน, ดามสตัดต์ และเดลซา ซึ่งต่างสนใจที่จะนำสถาบันเบาเฮาส์มาสร้างในเมืองของตน นายกเทศมนตรีของเมืองเดลซาประสบความสำเร็จในเจตจำนงนี้ และได้เปิดสถาบันศิลปะเบาเฮาส์ขึ้น จนกระทั่งปี 1928 Gropius ได้ขอลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการ และต้องแต่งตั้งคนอื่นดูแลแทน
ในช่วงทศวรรษที่ 1930s พรรคนาซีเยอรมันประสบชัยชนะทางการเมืองได้เป็นผู้ปกครองแอนฮอล์ท เบาเฮาส์ต้องย้ายไปอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน และได้ถูกปิดลงอย่างเด็ดขาดในเดือนเมษายน ปี 1933 (อันเป็นเดือนเดียวกันกับการก่อตั้งขึ้นมา) ซึ่งเป็นกาลอวสานของสถาบันแห่งนี้ในเยอรมัน สำหรับอาคารเรียนที่เมืองเดลซาได้ถูกพรรคนาซียึดไปเป็นที่อบรมทางการเมืองระดับหัวหน้าพรรค
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเบาเฮาส์จะถูกปิดตัวลงในเยอรมันนี แต่บทเรียนและวิธีการสอนกลับขยายออกไปมีอิทธิพลต่อโรงเรียนสอนศิลปะทั่วโลก สถาบันสอนศิลปะหลายแห่งในยุโรปและอเมริกาได้รับเอาไปปรับปรุงใช้กับสถาบันของตนเอง. Moholy Nagy ได้ไปก่อตั้ง The New เบาเฮาส์ (ซึ่งปัจจุบันคือ The Institute of Design of the Illinois Institute of Technology) ในชิคาโก นอกจากนี้ ทฤษฎีของเบาเฮาส์ยังได้ถูกนำไปใช้ในสถาบันที่มีชื่อเสียงอีกหลายแห่ง เช่นที่ ฮาร์วาร์ดในบอสตัน นิวยอร์ค และพยานหลักฐานเหล่านี้ ทำให้เบาเฮาส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกสถาบันสอนศิลปะสมัยใหม่เเห้งศตวรรษ